วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561

5.4 ระบบหมู่ลูกเสือ




เรื่องที่ 4 ระบบหมู่ลูกเสือ
ระบบหมู่ลูกเสือเป็นการเสริมสร้างวินัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการ
ทำงาน และการปฏิบัติภารกิจของสมาชิกภายในหมู่ กอง กลุ่ม เพื่อความก้าวหน้าของส่วนรวม
ด้วยความเต็มใจและพอใจของสมาชิกทุกคนนายหมู่ลูกเสือทุกคนจะดูแลสมาชิกภายในหมู่ของ
ตนเอง เป็นการกระจายอำนาจ และแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบตามระบอบประชาธิปไตย
การจัดหน้าที่ภายในหมู่ลูกเสือ
1. นายหมู่ลูกเสือ ทำหน้าที่เป็นผู้นำของหมู่ ดูแลสมาชิกภายในหมู่
2. รองนายหมู่ลูกเสือ ทำหน้าที่ช่วยนายหมู่ ช่วยดูแลสมาชิกภายในหมู่
3. พลาธิการ ทำหน้าที่ดูแลวัสดุ อุปกรณ์ บัญชีต่าง ๆ และความเป็น
ระเบียบเรียบร้อย
4. คนครัว ทำหน้าที่แม่ครัว จัดทำเตา หลุมเปียก หลุมแห้ง ที่ล้าง
และคว่ำจาน
5. ผู้ช่วยคนครัว ทำหน้าที่ช่วยแม่ครัวทุกประการ
6. คนหาฟืน ทำหน้าที่จัดหาเชื้อเพลิง หาฟืน เก็บฟืนไม่ให้เปียกฝน
7. คนหาน้ำ ทำหน้าที่จัดหาน้ำ สำหรับประกอบอาหาร น้ำดื่ม น้ำใช้
8. ผู้ช่วยเหลือทั่วไป ทำหน้าที่ช่วยงานคนอื่น ๆ พัฒนาที่พัก กำจัดขยะ
ทำราวตากผ้า
(ถ้ามี 8 คนขึ้นไป ให้เพิ่มผู้ช่วยคนหาฟืน หาน้ำหรือตำแหน่งอื่น ๆ ตามความ
เหมาะสม)
ให้แต่ละคนรับรู้บทบาทในการทำงานภายในหมู่ ใช้ระบบหมู่ ฝึกและพัฒนาการ
เป็นผู้นำ - ผู้ตาม รับฟังความคิดเห็น และการยอมรับซึ่งกันและกัน
กิจกรรมลูกเสือ มีหลักการส่งเสริมประชาธิปไตย โดยสมาชิกทุกคนสามารถพูด
สามารถแสดงออกได้เสมอ เช่น การเลือกเล่นเกม เพลง การทำความดี การทำกิจกรรมที่น่าสนใจ
เป็นต้น
การประชุมนายหมู่ หมายถึง การประชุมนายหมู่ทุกหมู่ โดยมีหัวหน้านายหมู่
เป็นประธานในที่ประชุม ให้นายหมู่นำมติหรือข้อตกลงจากที่ประชุมไปแจ้งแก่ลูกหมู่
83
การประชุมลูกหมู่ หมายถึง การประชุมภายในหมู่ โดยมีนายหมู่เป็นประธาน
ในที่ประชุม นายหมู่จะเป็นผู้กระตุ้นให้ทุกคนพูดคุย เสนอความคิด แสดงเหตุผลในเรื่องต่าง ๆ
เช่น เสนอว่าจะทำกิจกรรมอะไร ไปทำกิจกรรมที่ไหน ใครมีหน้าที่อะไร เป็นต้น
การพบหมู่ แตกต่างจากการประชุมหมู่ เพราะจะนัดพบเฉพาะหมู่ของตนเอง
เพื่อนัดหมายไปทำกิจกรรมเพื่อแสดงความสามารถ การพบกันของสมาชิกจะประสบความสำเร็จ
คือ การให้โอกาสทุกคนเป็นผู้นำ
บทบาทหน้าที่ของนายหมู่และรองนายหมู่
บทบาทหน้าที่ของนายหมู่และรองนายหมู่ แต่ละหมู่จะมีการเลือกนายหมู่และ
รองนายหมู่ ตามระบอบประชาธิปไตย การเลือกตั้งนายหมู่ควรมีการสับเปลี่ยนให้สมาชิกคนอื่น
มีโอกาสเป็นนายหมู่และรองนายหมู่ เพื่อเป็นการเปลี่ยนกันทำงาน และฝึกความรับผิดชอบ
ในฐานะผู้นำ บทบาทของนายหมู่และรองนายหมู่ มีดังนี้
1. บริหารงานในหมู่
2. ให้คำปรึกษาแก่สมาชิก
3. เป็นผู้นำในการประชุม
4. แบ่งงานให้สมาชิกทำ
5. เป็นตัวแทนในการประชุมกับหมู่อื่นๆ
6. แจ้งผลการประชุม
7. ช่วยเหลือสมาชิก
8. จดบันทึกเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ของหมู่ ศึกษาบทบาทการทำหน้าที่ของนายหมู่
ช่วยเหลือนายหมู่ในการดูแลสมาชิก และปฏิบัติหน้าที่เมื่อนายหมู่ไม่อยู่
ระบบหมู่เป็นการฝึกให้สมาชิกได้ร่วมกันทำงานอย่างเป็นระบบ สร้างวินัยและ
ความเป็นระเบียบเรียบร้อยโดยยึดหลักประชาธิปไตย มีนายหมู่และรองนายหมู่เป็นผู้นำ มีการ
ประสานงานกันเป็นอย่างดีทั้งในหมู่ของตนเองและหมู่อื่นๆ มีการร่วมแสดงความคิดเห็น การมี
ส่วนร่วมในการบริหารงานหมู่ตลอดจนการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น