วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561

9.1 ทักษะลูกเสือ ม.ปลาย


9.1  1 ลูกเสืออธิบายเกี่ยวกบัความหมาย ชนิดของแผนที่และเข็มทิศ สีและ สัญลักษณ์ในแผนที่ บอกชื่อทิศ ประโยชน์ของเข็มทิศและส่วนประกอบของเข็มทิศ ซิลวาได้ 
2. ลูกเสืออ่านแผนที่และใชเ้ขม็ ทิศไดอ้ยา่ งถูกตอ้ง 
3. ลูกเสือมีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์มีความซื่อสัตย์ มีวินัย ใฝ่ เรียนรู้ และ
กิจกรรมลูกเสือพัฒนาทักษะชีวิตให้เท่าทันกับสภาพสังคมปัจจุบันที่เต็มไป ด้วยการแข่งขัน ข้อมูลข่าวสาร และสื่อไร้พรมแดน  
พร้อมแล้วมาศึกษาเรื่อง แผนที่และเข็มทิศ กนั เถอะครับ
          จากการที่องค์กรทางการศึกษาต่าง ๆ ได้กำหนดนโยบายและเห็นความสำคัญในเรื่องการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต โดยเน้นส่งเสริมสนับสนุนให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีทักษะชีวิต
          ที่จำเป็น และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขนั้น เพื่อให้มีแนวทางการจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตที่ชัดเจน ดังนั้นกิจการลูกเสือซึ่งเป็นขบวนการในการพัฒนาเด็กและเยาวชนจึงเห็นความ สำคัญของการพัฒนาและใช้กิจกรรมลูกเสือพัฒนาทักษะชีวิตของลูกเสืออย่างถูก ต้องและต่อเนื่อง ให้เท่าทันกับสภาพสังคมปัจจุบัน ที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน  ข่าวสาร สื่อไร้พรมแดน เพื่อเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมในการพัฒนาทักษะชีวิตที่เป็นรูปธรรมและประสบ ความสำเร็จ ลูกเสือมีคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ เป็นคนดี มีความรู้ความสามารถ เป็นทรัพยากรอันทรงคุณค่า มีคุณลักษณ์อันพึงประสงค์ เป็นพลเมืองดีของชาติในอนาคต สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
 
แนวคิดเรื่องทักษะชีวิตและแนวทางการจัดกิจกรรมของสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน โดยมีละเอียดดังนี้
1. ความหมายของทักษะชีวิต
          ทักษะชีวิต หมายถึง ความสามารถในการแก้ปัญหาที่ต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน เพื่อให้อยู่รอดปลอดภัย และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
2. องค์ประกอบของทักษะชีวิต 
          ทักษะชีวิตที่จำเป็นที่สุดที่ทุกคนควรมี ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้สรุปไว้ และถือเป็นหัวใจสำคัญในการดำรงชีวิต คือ
          1) ทักษะการตัดสินใจ (Decision making) เป็นความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ
          ในชีวิตได้อย่างมีระบบ เช่น ถ้าบุคคลสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการกระทำของตนเองที่เกี่ยวกับพฤติกรรมด้านสุขภาพ หรือความปลอดภัยในชีวิต โดยประเมินทางเลือกและผลที่ได้จากการตัดสินใจเลือกทางที่ถูกต้องเหมาะสม ก็จะมีผลต่อการมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ
          2) ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving) เป็นความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมีระบบ ไม่เกิดความเครียดทางกายและจิตใจ จนอาจลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตเกินแก้ไข
          3) ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) เป็นความสามารถในการคิดที่จะเป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาโดยการ คิดสร้างสรรค์ เพื่อค้นหาทางเลือกต่าง ๆ รวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นในแต่ละทางเลือกและสามารถนำประสบการณ์มาปรับใช้ใน ชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
          4) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ และประเมินปัญหา หรือสถานการณ์ที่อยู่รอบตัวเราที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต
          5) ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective communication) เป็นความสามารถในการใช้คำพูดและท่าทางเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้อย่างเหมาะสมกับ วัฒนธรรม และสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การแสดงความต้องการ การแสดงความชื่นชม การขอร้อง การเจรจาต่อรอง การตักเตือน การช่วยเหลือ การปฏิเสธ ฯลฯ
          6) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal relationship) เป็นความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและกัน และสามารถรักษาสัมพันธภาพไว้ได้ยืนยาว
          7) ทักษะการตระหนักรู้ในตน (Self awareness) เป็นความสามารถในการค้นหารู้จักและเข้าใจตนเอง เช่น รู้ข้อดี ข้อเสียของตนเอง รู้ความต้องการ และสิ่งที่ไม่ต้องการของตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เรารู้ตัวเองเวลาเผชิญกับความเครียดหรือสถานการณ์ต่าง ๆ และทักษะนี้ยังเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทักษะอื่น ๆ เช่น การสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพ การตัดสินใจ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
          8) ทักษะการเข้าใจผู้อื่น (Empathy) เป็นความสามารถในการเข้าใจความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างบุคคล ในด้านความสามารถ เพศ วัย ระดับการศึกษา ศาสนา ความเชื่อ สีผิว อาชีพ ฯลฯ ช่วยให้สามารถยอมรับบุคคลอื่นที่ต่างจากเรา เกิดการช่วยเหลือบุคคลอื่นที่ด้อยกว่า หรือได้รับความเดือดร้อน เช่น ผู้ติดยาเสพติด ผู้ติดเชื้อเอดส์
          9) ทักษะการจัดการกับอารมณ์ (Coping with emotion) เป็นความสามารถในการรับรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น รู้ว่าอารมณ์มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมอย่างไร รู้วิธีการจัดการกับอารมณ์โกรธ และความเศร้าโศก ที่ส่งผลทางลบต่อร่างกาย และจิตใจได้อย่างเหมาะสม
        10) ทักษะการจัดการกับความเครียด (Coping with stress) เป็นความสามารถในการรับรู้ถึงสาเหตุของความเครียด รู้วิธีผ่อนคลายความเครียด และแนวทางในการควบคุมระดับความเครียด เพื่อให้เกิดการเบี่ยงเบนพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสมและไม่เกิดปัญหา ด้านสุขภาพ
3. กลวิธีในการสร้างทักษะชีวิต
          จากองค์ประกอบของทักษะชีวิต 10 ประการ เมื่อจะนำไปจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตให้กับกลุ่มเป้าหมาย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน ดังนี้
          1. ทักษะชีวิตทั่วไป คือ ความสามารถพื้นฐานที่ใช้เผชิญปัญหาปกติในชีวิตประจำวัน เช่น ความเครียด สุขภาพ การคบเพื่อน การปรับตัว ครอบครัวแตกแยก การบริโภคอาหาร ฯลฯ
          2. ทักษะชีวิตเฉพาะ คือ ความสามารถที่จำเป็นในการเผชิญปัญหาเฉพาะ เช่น ยาเสพติด โรคเอดส์ไฟไหม้ น้ำท่วม การถูกล่วงละเมิดทางเพศ ฯลฯ
4. เนื้อหาที่เป็นจุดเน้นในการพัฒนาทักษะชีวิต
          จากองค์ประกอบของทักษะชีวิต 10 ประการ กรมการศึกษานอกโรงเรียนได้กำหนดเนื้อหาที่เป็นจุดเน้นในการพัฒนาทักษะชีวิต 4 ด้าน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการส่งเสริม การป้องกันและการแก้ไขที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้า หมายในแต่ละพื้นที่ คือ
          1. ด้านสุขภาพอนามัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการดูแลตนเอง ให้มีสุขภาพอนามัยที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ มีบุคลิกภาพที่เหมาะสม รู้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ และสามารถแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่จะนำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม
         2. ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน รู้วิธีป้องกันภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้น และสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากภัยอันตรายได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
         3. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึกในการร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รู้วิธีใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า รู้วิธีป้องกันไม่ให้เกิดสภาพแวดล้อมเป็นพิษ และสามารถแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมเป็นพิษในชุมชนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
         4. ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มี จุดมุ่งหมาย เพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ถูกต้อง และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของคนในสังคมไทย รู้วิธีป้องกันไม่ให้ตนเองครอบครัว ชุมชนเข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุข สามารถปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีของครอบครัว ชุมชน และสามารถแก้ไขปัญหาพฤติกรรม
ที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จากการเรียนรู้เนื้อหาดังกล่าวในรูปแบบกิจกรรมที่ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยให้กลุ่มเป้าหมายได้ฝึก คิด ทำ จำ แก้ปัญหา และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จะเป็นการพัฒนาทักษะชีวิตทั้ง 10 ประการ ที่สอดคล้องกับเนื้อหาดังกล่าวไปด้วยพร้อมกัน  [ ที่มา :www.nfe.go.th
 ]
          ในการจัดกิจกรรมลูกเสือโดยเน้นการบูรณาการทักษะชีวิต ควรจัดให้สอดคล้องกับหลักสูตร คำปฏิญาณ กฎ และคติพจน์ของลูกเสือ โดยอาจให้มีจุดเน้นในการพัฒนาทักษะชีวิตที่กล่าวข้างต้น หรือจะใช้แนวทางพัฒนาทักษะชีวิตรูปแบบอื่น ๆ เช่น การพัฒนาทักษะชีวิตแนวเศรษฐกิจพอเพียง  แนวธรรมาภิบาล ฯลฯ ประมาณ 3 – 5 ทักษะ หรือมากกว่านั้น จากนั้นนำมาจัดทำเป็นแผนการจัดการเรียนรู้กิจกรรมลูกเสือที่เน้นการพัฒนา ทักษะชีวิต และกำหนดกิจกรรมทั้งภาคความรู้ และปฏิบัติ ที่สามารถประเมินตามภาพจริงอย่างหลากหลาย และต่อเนื่อง เพื่อสามารถวิเคราะห์ วิจัยในชั้นเรียน เพื่อตรวจสอบคุณภาพ ความก้าวหน้า ความสำเร็จของลูกเสือจากการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตนั้น ๆ
          การพัฒนาทักษะชีวิตบูรณาการร่วมกับกิจกรรมลูกเสือ เป็นสิ่งสำคัญที่จะฝึกฝนให้ลูกเสือได้ค้นพบความสามารถ เห็นคุณค่าของชีวิต มีภูมิคุ้มกันในการป้องกันตนเอง สามารถช่วยเหลือผู้อื่น และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข มีคุณค่า โดยควรเน้นการจัดกิจกรรมให้ครบถ้วนตามขบวนการของลูกเสือให้เหมาะสมตามวัย ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล คำนึงถึง “การผจญภัย  ได้เพื่อน  เถื่อนธาร  การสนุก  สุขสม ” และเน้นแนวการจัดกิจกรรมที่สอดแทรกการพัฒนาทักษะชีวิตอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ก็จะทำให้การพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กและเยาวชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีผลสัมฤทธ์ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์  ตามจุดมุ่งหมายที่หลักสูตรมุ่งหวังไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น