วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2561

1.1 ลูกเสือกับการพัฒนา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ลูกเสือกับการพัฒนา
สาระสำคัญ
การลูกเสือ มีเป้าหมายเพื่ออบรมสั่งสอนและฝึกฝนให้บุคคลเป็นพลเมืองดี ซึ่ง
วัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ นั้น เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ และ
ศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ และช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มีเกิดความสามัคคี
และมีความเจริญก้าวหน้า และหลักการของการลูกเสือ มุ่งส่งเสริม สร้างสรรค์ให้ลูกเสือและ
ผู้บังคับบัญชาลูกเสือยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินกิจกรรมลูกเสือและใช้ในการดำเนินชีวิต
ของตนเองให้เกิดความสุขให้เป็นคนดี คนเก่ง พึ่งตนเอง เห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือผู้อื่นได้
มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยยึดหลักการ คำปฏิญาณและกฎของ
ลูกเสือเป็นหลักปฏิบัติ และพร้อมที่จะให้ บริการ ตามทัศนะของการลูกเสือ ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึง
สภาวะแวดล้อม สถานภาพ และขีดความสามารถของตนเอง โดยการสำรวจตนเอง ครอบครัว
ชุมชนและสังคมเพื่อการพัฒนา และมีแนวทางการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม
ตัวชี้วัด
1. อธิบายสาระสำคัญของการลูกเสือ
2. อธิบายความสำคัญของการลูกเสือกับการพัฒนา
3. อภิปรายความเป็นพลเมืองดีในทัศนะของการลูกเสือ
4. นำเสนอผลการสำรวจตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม เพื่อการพัฒนา
ขอบข่ายเนื้อหา
เรื่องที่ 1 สาระสำคัญของการลูกเสือ
1.1 วัตถุประสงค์ของการพัฒนาลูกเสือ
1.2 หลักการสำคัญของการลูกเสือ
เรื่องที่2 ความสำคัญของการลูกเสือกับการพัฒนา
2.1 การพัฒนาตนเอง
2.2 การพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
2.3 การพัฒนาสัมพันธภาพภายในชุมชนและสังคม
เรื่องที่ 3 ลูกเสือกับการพัฒนาความเป็นพลเมืองดี
3.1 ความหมายของพลเมืองดี
3.2 ความเป็นพลเมืองดีในทัศนะของการลูกเสือ
เรื่องที่ 4 การสำรวจตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม เพื่อการพัฒนา
4.1 การสำรวจตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม
4.2 แนวทางการพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม
เวลาที่ใช้ในการศึกษา 2 ชั่วโมง
สื่อการเรียนรู้
1. ชุดวิชาลูกเสือ กศน. รหัสรายวิชา สค32035
2. สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดวิชา
3. สื่อเสริมการเรียนรู้อื่น

เรื่องที่ 1 สาระสำคัญของการลูกเสือ
พระราชบัญญัติลูกเสือ .. 2551 ได้ให้ความหมายของคำว่า ลูกเสือ หมายถึง
เด็กและเยาวชนทั้งชายและหญิง ที่สมัครเข้าเป็นลูกเสือทั้งในสถานศึกษา และนอกสถานศึกษา ส่วนลูกเสือที่เป็นหญิงให้เรียกว่า เนตรนารี
การลูกเสือ หมายถึง กิจการที่นำเอาวัตถุประสงค์ หลักการ และวิธีการของ
ขบวนการลูกเสือมาใช้เพื่อการพัฒนาเด็กและเยาวชน
การลูกเสือเป็นกระบวนการสำคัญยิ่งของการศึกษาที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก
เพราะเป็นกิจกรรมพัฒนาเยาวชนให้มีคุณธรรมสูง ส่งเสริมบุคลิกภาพที่ดี และมีความเป็นผู้นำในการพัฒนาเยาวชนนั้น พระราชบัญญัติลูกเสือ ..2551 ได้ให้ความหมายของวัตถุประสงค์คณะลูกเสือแห่งชาติ ไว้ในมาตรา 8 ความว่า คณะลูกเสือแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรมให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ และช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสามัคคี และมีความเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้ เพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ของการพัฒนาลูกเสือ และหลักการสำคัญของการลูกเสือ ดังนี้



1.1 วัตถุประสงค์ของการพัฒนาลูกเสือ
คณะลูกเสือแห่งชาติ ได้กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย
สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ และช่วยสร้างสรรค์สังคมให้มี
ความสามัคคีและมีความเจริญก้าวหน้า ทั้งนี้ เพื่อความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ
ตามแนวทางดังต่อไปนี้
1) ให้มีนิสัยในการสังเกต จดจำ เชื่อฟังและพึ่งตนเอง
2) ให้ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัยและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
3) ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
4) ให้รู้จักทำการฝีมือและฝึกฝนให้ทำกิจการต่าง ตามความเหมาะสม
5) ให้รู้จักรักษาและส่งเสริมจารีตประเพณี วัฒนธรรม และความมั่นคง
ของประเทศชาติ
ซึ่งสอดคล้องกับธรรมนูญขององค์การแห่งโลก ว่าด้วยขบวนการลูกเสือที่ได้กำหนด
วัตถุประสงค์ของขบวนการลูกเสือไว้ดังต่อไปนี้
จุดมุ่งประสงค์ของขบวนการลูกเสือ คือ การสนับสนุนการพัฒนาอย่างเต็มที่
ซึ่งศักยภาพทางกาย สติปัญญา สังคม จิตใจและศีลธรรม ให้แก่เยาวชนเป็นรายบุคคล เพื่อให้
4
เขาเป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ ในฐานะที่เป็นสมาชิกของชุมชนในท้องถิ่น ในชาติ และ
ในชุมชนระหว่างนานาชาติ
ขบวนการลูกเสือทั่วโลก เป็นขบวนการที่มุ่งพัฒนาศักยภาพของบุคคล ทุกเพศ
ทุกวัย และทุกฐานะ ให้ได้รับการพัฒนาในทุกด้าน กล่าวคือ
การพัฒนาทางกาย เพื่อให้มีร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง เพียบพร้อมด้วย
สุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ โดยการส่งเสริมการใช้ชีวิตกลางแจ้ง
การพัฒนาทางสติปัญญา เพื่อให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด พึ่งตนเองได้ โดยการ
ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการกระทำร่วมกัน
การพัฒนาทางจิตใจ เพื่อให้มีคุณธรรม จริยธรรมในการดำรงชีวิต โดยยึด
คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือเป็นหลักประจำใจและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
การพัฒนาทางสังคม เพื่อให้มีจิตสาธารณะ คิดดี ทำดี และมีความเป็นพลเมืองดี
สามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยการบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น
1.2 หลักการสำคัญของการลูกเสือ
เบเดน โพเอลล์ ได้กำหนดหลักการสำคัญของการลูกเสือไว้ 8 ประการ ดังนี้
1) ลูกเสือเป็นผู้มีศาสนา
2) ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง
3) ลูกเสือมีความเชื่อมั่นในมิตรภาพและความเป็นภราดรของโลก
4) ลูกเสือเป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น
5) ลูกเสือเป็นผู้ยึดมั่นและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ
6) ลูกเสือเป็นผู้อาสาสมัคร
7) ลูกเสือย่อมไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
8) มีกำหนดการพิเศษสำหรับการฝึกอบรมเด็กชาย และคนหนุ่มเพื่อให้
เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ โดยอาศัยวิธีการระบบหมู่ ระบบกลุ่ม มีการทดสอบเป็นขั้นๆ
ตามระดับของหลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ และใช้กิจกรรมกลางแจ้ง
เบเดน โพเอลล์ ได้เขียนสาส์นฉบับสุดท้ายถึงลูกเสือ มีข้อความสำคัญดังนี้ 1) จงทำตนเองให้มีอนามัยและแข็งแรงในขณะที่ยังเป็นเด็ก 2) จงพอใจในสิ่งที่เธอมีอยู่และทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด3) จงมองเรื่องราวต่าง ในแง่ดี แทนที่จะมองในแง่ร้าย 4) ทางอันแท้จริงที่จะหาความสุข คือโดยการให้ความสุขแก่ผู้อื่น 5) จงพยายามปล่อยอะไรไว้ในโลกนี้ให้ดีกว่าที่เธอได้พบ และ6) จงยึดมั่นในคำปฏิญาณของลูกเสือของเธอไว้เสมอ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า เด็กผู้ชายเป็น
ผู้ที่สมควรได้รับการฝึกฝนทั้งร่างกายและจิตใจ เปรียบเหมือนไม้ที่ยังอ่อน จะดัดให้เป็นรูป
อย่างไรก็เป็นไปได้โดยง่ายและงดงาม ถ้ารอไว้จนแก่เสียแล้วเมื่อจะดัดก็ต้องเข้าไฟ และมักจะหักได้ เพื่อจะได้รู้จักหน้าที่ ผู้ชายไทยทุกคนควรประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของตน หลักการของลูกเสืออยู่ที่การปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือโดยคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือสำรอง มีดังนี้
คำปฏิญาณกล่าวว่า ข้าสัญญาว่า
ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข้อ 2 ข้าจะยึดมั่นในกฎของลูกเสือสำรองและบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่นทุกวัน
กฎของลูกเสือสำรอง
ข้อ 1 ลูกเสือสำรองทำตามลูกเสือรุ่นพี่
ข้อ 2 ลูกเสือสำรองไม่ทำตามใจตนเอง
ส่วนคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ ลูกเสือสามัญ ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ลูกเสือ
วิสามัญ และผู้บังคับบัญชาลูกเสือ มีดังนี้
คำปฏิญาณกล่าวว่า ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า
ข้อ 1 ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
ข้อ 2 ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ
ข้อ 3 ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ
กฎของลูกเสือ มี 10 ข้อ ดังนี้
ข้อ 1 ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้
ข้อ 2 ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรง
ต่อผู้มีพระคุณ
ข้อ 3 ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น
ข้อ 4 ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก
ข้อ 5 ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย
ข้อ 6 ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์
ข้อ 7 ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดา และผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ
ข้อ 8 ลูกเสือมีใจร่าเริงและไม่ย่อท้อต่อความลำบาก
ข้อ 9 ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์
ข้อ 10 ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ

สรุปได้ว่า หลักการของลูกเสือดังกล่าวมุ่งส่งเสริมสร้างสรรค์ให้ลูกเสือและ
ผู้บังคับบัญชาลูกเสือยึดถือเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินกิจกรรมลูกเสือและใช้ในการดำเนินชีวิตของตนเองให้เกิดความสุข ให้เป็นคนดี คนเก่ง พึ่งตนเอง เห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือผู้อื่นได้มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยยึดหลักการ คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือเป็นหลักปฏิบัติ



กิจกรรมท้ายเรื่องที่ 1 สาระสำคัญของการลูกเสือ
(ให้ผู้เรียนไปทำกิจกรรมท้ายเรื่องที่ 1 ที่สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดวิชา)





เรื่องที่ 4 การสำรวจตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม เพื่อการพัฒนา                          การสำรวจตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม เพื่อการพัฒนาของลูกเสือ กศน.
ลูกเสือจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการรู้จักตนเอง การรู้จักครอบครัว ชุมชน และสังคม และการมีความรับผิดชอบและช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสามัคคี ดังนี้
4.1 การรู้จักตนเอง
การรู้จักและเข้าใจตนเอง สามารถดำเนินการได้โดยการสำรวจตนเอง รับรู้
สภาพการดำรงชีวิตที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่าอยู่ในสภาวะใดหรือกำลังเผชิญปัญหาใดอยู่บ้าง
4.2 การรู้จักครอบครัว ชุมชน และสังคม
เมื่อเรารู้จักตนเองแล้ว หากเรารักใครเราก็ต้องมีความรู้เกี่ยวกับผู้นั้นด้วย
เช่นกัน คนในครอบครัวก็ทำนองเดียวกัน ภรรยาและสามีต้องรู้จัก และเข้าใจกันให้ดี รู้ว่าใครชอบไม่ชอบอะไร เหมือนหรือต่างกันตรงไหน ชอบรับประทานอะไร รู้จักนิสัยใจคอ ยิ่งครองรัก
กันนานเท่าใด ยิ่งต้องรู้จักกันมากขึ้น ไม่ใช่รู้จักกันน้อยลง และต้องเข้าใจกันให้มากขึ้น ถ้าเรารักลูกก็ต้องรู้จักและมีความรู้เกี่ยวกับลูกว่าชอบไม่ชอบวิชาใด ถนัดอะไร ชอบอาชีพอะไร อุปนิสัยเป็นอย่างไร มีจุดเด่น จุดด้อยอะไรบ้าง โดยเราจะต้อง ปรับ พื้นฐานเหล่านี้ให้เข้ากันให้ได้เพื่อช่วยให้เราสามารถอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข การที่เรารู้จักนิสัย รู้จุดเด่น จุดด้อย ของครอบครัวมากเท่าใดก็จะยิ่งช่วยให้เราสามารถดูแลเขาได้ดีขึ้น
นอกจากนี้เรายังต้องรู้จักชุมชนของเราให้ถ่องแท้ยิ่งขึ้น ต้องศึกษาความเชื่อ
ของชุมชนเพราะพื้นฐานการศึกษาประสบการณ์ ศาสนามีความแตกต่างกัน ต้องศึกษาผู้นำชุมชนหรือผู้มีชื่อเสียง ศึกษาบริบทพื้นฐานของชุมชน ได้แก่ ขนาดของชุมชน สถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ จำนวนประชากร ปัญหาของชุมชนทั้งในอดีตและปัจจุบัน การประกอบอาชีพของคนในชุมชน รู้ว่าบทบาทภารกิจที่ต้องรับผิดชอบคืออะไร มีทักษะและประสบการณ์ในการดำเนินงานด้านใด มีความรู้สึกชอบ และยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ทั้งผู้เห็นต่างและผู้เห็นด้วยสามารถรับรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่น ตลอดจนมีความรู้ และทักษะในการสื่อความหมายได้ดีคุณสมบัติทั้งหมดนี้ ล้วนมีความสำคัญมากในการอยู่ร่วมกันของชุมชน เพราะความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน จะช่วยให้การทำงานของชุมชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 การมีความรับผิดชอบและช่วยสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสามัคคี
สมาชิกทุกคนในสังคมย่อมต้องมีบทบาทหน้าที่ตามสถานภาพของตน ซึ่งบทบาท
และหน้าที่ของสมาชิกแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันไป แต่ในหลักใหญ่และรายละเอียด
จะเหมือนกัน ถ้าสมาชิกทุกคนในสังคมได้ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องก็จะได้ชื่อว่าเป็น "พลเมืองที่ดีของสังคมและประเทศชาติ" และยังส่งผลให้ประเทศชาติพัฒนา
อย่างยั่งยืน ดังนั้น สมาชิกในสังคมทุกคน โดยเฉพาะเยาวชนที่ถือว่าเป็นอนาคตของชาติ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้และปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของตน เพื่อช่วยนำพาประเทศชาติให้พัฒนาสืบไป การเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและประเทศชาตินั้นประชาชนทุกคนนับเป็นพลังอันสำคัญที่จะช่วยกันเสริมสร้างกิจกรรม ควรเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม กล่าวคือจะต้องมีธรรมะในการดำเนินชีวิต และร่วมแรงร่วมใจ สามัคคีและเสียสละเพื่อส่วนรวม ได้แก่
1) การเสียสละต่อส่วนรวม เป็นคุณธรรมที่ช่วยในการพัฒนาประเทศชาติให้มี
ความเจริญก้าวหน้า เพราะหากสมาชิกในสังคมเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และยอมเสียสละ
ประโยชน์ส่วนตน จะทำให้สังคมพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและมั่นคง
2) การมีระเบียบวินัยและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เป็นคุณธรรมที่ช่วยให้คน
ในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข เพราะถ้าสมาชิกในสังคมยึดมั่นในระเบียบวินัย รู้และเข้าใจสิทธิของตนเอง ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด สังคมนั้นก็จะมีแต่ความสุข เช่น ข้าราชการทำหน้าที่บริการประชาชนอย่างดีที่สุด ก็ย่อมทำให้เป็นที่ประทับใจรักใคร่ของประชาชนผู้มารับบริการ
3) ความซื่อสัตย์สุจริต เป็นคุณธรรมที่มีความสำคัญ เพราะหากสมาชิกในสังคม
ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต เช่น ไม่ลักทรัพย์ ไม่เบียดเบียนทรัพย์สินของผู้อื่นหรือของ
ประเทศชาติมาเป็นของตน รวมทั้งผู้นำประเทศมีความซื่อสัตย์สุจริตก็จะทำให้สังคมมีแต่
ความเจริญประชาชนมีแต่ความสุข
4) ความสามัคคี ความรักใคร่กลมเกลียวปรองดองและร่วมมือกันทำงาน เพื่อ
ประโยชน์ส่วนรวมจะทำให้สังคมเป็นสังคมที่เข้มแข็ง แต่หากคนในสังคมเกิดความแตกแยก
ทั้งทางความคิดและการปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกัน จะทำให้สังคมอ่อนแอและล่มสลายในที่สุด
5) ความละอายและเกรงกลัวในการทำชั่ว ถ้าสมาชิกในสังคมมีหิริโอตัปปะ
มีความเกรงกลัวและละอายในการทำชั่ว สังคมก็จะอยู่กันอย่างสงบสุข เช่น นักการเมืองจะต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตไม่โกงกิน ไม่เห็นแก่ประโยชน์พวกพ้อง โดยต้องเห็นแก่ประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ ประเทศชาติก็จะสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคง
ดังนั้น การสำรวจตนเอง ครอบครัว ชุมชน และสังคม เพื่อการพัฒนา จำเป็นต้อง
มองให้ครอบคลุมประเด็นของการพัฒนา และตรงตามความจำเป็นที่ควรได้รับการพัฒนา
เพื่อให้เกิดทักษะการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาตนเอง
การพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล หรือการพัฒนาสัมพันธภาพภายในชุมชนและสังคม ซึ่งการสำรวจเพื่อการพัฒนา จึงสามารถทำได้ทั้งการสำรวจด้วยวิธีมองตนเอง และให้บุคคลอื่นช่วยมองตัวเรา จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาคิดวิเคราะห์ จัดลำดับความเป็นไปได้ว่ามีเรื่องใดที่จะสามารถพัฒนาได้ด้วยปัจจัยใด
ตัวอย่างแบบสำรวจ เพื่อการพัฒนา ลูกเสือ กศน.
หัวข้อการสำรวจ ข้อดี ข้อควรพัฒนา วิธีการพัฒนา ปัจจัย
สนับสนุน
1. การพัฒนาตนเอง
1.1 การพัฒนาทางกาย
1.2 การพัฒนาทางสติปัญญา
1.3 การพัฒนาทางจิตใจ
1.4 การพัฒนาทางสังคม
2. การพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
3. การพัฒนาสัมพันธภาพภายในชุมชนและสังคม
กิจกรรมท้ายเรื่องที่ 4 การสำรวจตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคม
เพื่อการพัฒนา

(ให้ผู้เรียนไปทำกิจกรรมท้ายเรื่องที่ 4 ที่สมุดบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดวิชา)__

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น